การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การถ่ายทอดความรู้และการแบ่งปันความรุ้นั้น คาดว่าทุกองค์กรนั้นก็คงจะมีกัน แต่ก็แล้วแต่องค์กรต่างๆว่าจะมีวิธีการแบบไหนที่จะสามารถที่ทำให้บุคคลากรของตนเองมีการพัฒนาและเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการถ่ายทอด แต่ทุกบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆก็อาจจะเกิดปัญหาในด้านนี้ ซึ่งในส่วนของบริษัทที่ผมทำงานอยู่ก็มีเหมือนกัน โดยผมทำงานอู่ในฝ่ายขายที่ต้องการทักษะทั้งทางด้านงานขายและงานบริหาร
อย่างแรกคือ การที่คนที่มีความสามารถอาจจะไม่ถ่ายทอดความรู้คือ บางครั้งอยู่ในองค์กรเดียวกันแต่อยู่คนละสายงาน คนที่มีประสบการณ์ในสายงานหรือมีความรู้ความสามารถก็อาจจะถ่ายทอดเฉพาะสายงานของตนเองไม่ได้ถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึง
2 ปัญหาที่พบคือ การถ่ายทอดความรู้บางครั้งอาจจะไม่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้เพราะการที่วิทยากรหรือผู้ที่มีความรู้ในด้านต่างๆมาบรรยาย แต่บางครั้งอาจจะเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและการใช้งานแตกต่างกันทำให้ ความรู้ที่ได้รับมานั้นอาจจะไม่สามารถนำมาใช้งานจริง
3 การแบ่งความรู้หรือถ่ายทอดบางครั้ง อยู่ที่บุคลากรที่รับฟังในการบรรยายหรือการอบรม ถ้าบุคลากรนั้นมีความรู้ความสามารถหรือมีการศึกษาที่ดีก็สามารถเข้าใจ แต่บางครั้งบุคคลที่เข้ารับฟังก็มีการศึกษาที่ไม่สูงนักทำให้ไม่สามารถเข้าใจในเรื่องที่ฟังได้ ทำให้การแบ่งปันความรู้หรือการถ่ายทอดความรู้ก็ไม่สามารถกระจายได้อย่างเต็มที่
แต่ก็มีการแก้ไขได้เพราะองค์จำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆดังนั้นก็ต้องมีการแก้ปัญหา โดยการที่บริษัทได้จัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบความสำเร็จในเรื่องของงานขายและงานบริหารทีมงานว่าจะทำอย่างไรให้ประสบความาเร็จอย่างเขา ซึ่งวิธีการนี้ได้รับการตอบรับดีมากและสามารถนำไปใช้งานได้จริงและไม่มีการหวงความรู้ด้วย
อีกทั้งยังมีการให้หัวหน้างานคอยสอนงานลูกน้องในสังกัดเพื่อให้มีการพัฒนาและมีการนำสถานการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเพื่อที่จะให้พนักงานเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง
ดังนั้นจะพบว่า การถ่ายทอดและการแบ่งปันความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาคนและพัฒนางาน ถ้าสามารถนำประสบการณ์จากคนที่ทำงานมาประยุกต์ใช้ได้ก็จะสามารถทำให้งานนั้นๆมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/1263
อย่างแรกคือ การที่คนที่มีความสามารถอาจจะไม่ถ่ายทอดความรู้คือ บางครั้งอยู่ในองค์กรเดียวกันแต่อยู่คนละสายงาน คนที่มีประสบการณ์ในสายงานหรือมีความรู้ความสามารถก็อาจจะถ่ายทอดเฉพาะสายงานของตนเองไม่ได้ถ่ายทอดความรู้อย่างทั่วถึง
2 ปัญหาที่พบคือ การถ่ายทอดความรู้บางครั้งอาจจะไม่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้เพราะการที่วิทยากรหรือผู้ที่มีความรู้ในด้านต่างๆมาบรรยาย แต่บางครั้งอาจจะเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและการใช้งานแตกต่างกันทำให้ ความรู้ที่ได้รับมานั้นอาจจะไม่สามารถนำมาใช้งานจริง
3 การแบ่งความรู้หรือถ่ายทอดบางครั้ง อยู่ที่บุคลากรที่รับฟังในการบรรยายหรือการอบรม ถ้าบุคลากรนั้นมีความรู้ความสามารถหรือมีการศึกษาที่ดีก็สามารถเข้าใจ แต่บางครั้งบุคคลที่เข้ารับฟังก็มีการศึกษาที่ไม่สูงนักทำให้ไม่สามารถเข้าใจในเรื่องที่ฟังได้ ทำให้การแบ่งปันความรู้หรือการถ่ายทอดความรู้ก็ไม่สามารถกระจายได้อย่างเต็มที่
แต่ก็มีการแก้ไขได้เพราะองค์จำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆดังนั้นก็ต้องมีการแก้ปัญหา โดยการที่บริษัทได้จัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบความสำเร็จในเรื่องของงานขายและงานบริหารทีมงานว่าจะทำอย่างไรให้ประสบความาเร็จอย่างเขา ซึ่งวิธีการนี้ได้รับการตอบรับดีมากและสามารถนำไปใช้งานได้จริงและไม่มีการหวงความรู้ด้วย
อีกทั้งยังมีการให้หัวหน้างานคอยสอนงานลูกน้องในสังกัดเพื่อให้มีการพัฒนาและมีการนำสถานการณ์จริงมาเป็นตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเพื่อที่จะให้พนักงานเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง
ดังนั้นจะพบว่า การถ่ายทอดและการแบ่งปันความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาคนและพัฒนางาน ถ้าสามารถนำประสบการณ์จากคนที่ทำงานมาประยุกต์ใช้ได้ก็จะสามารถทำให้งานนั้นๆมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/1263